วันพุธที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2553

จังหวัด กาญจนบุรี

อุทยานแห่งชาติน้ำตกเอราวัณ






 
            
          ลักษณะทางภูมิประเทศส่วนใหญ่จะเป็นป่า ซึ่งจะมีทั้งป่าดงดิบและป่าโปร่ง มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 19,473 ตารางกิโลเมตร มีระยะทางห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 129 กิโลเมตร



เป็นของคนไทยทุกคน ควรช่วยกันรักษา


         สมัย พณฯจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีได้มีมติการประชุม เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2502 ให้กระทรวงเกษตร (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในปัจจุบัน) ดำเนินการจัดตั้งป่าเทือกเขาสลอบท้องที่จังหวัดกาญจนบุรี และป่าอื่นๆ ในท้องที่จังหวัดต่างๆ รวม 14 ป่า ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้จึงได้ส่งเจ้าหน้าที่ดำเนินการสำรวจหาข้อมูลเบื้องต้น ตั้งแต่ พ.ศ. 2504-2515 โดยใช้บริเวณน้ำตกเอราวัณเป็นศูนย์กลางการสำรวจ พบว่า บริเวณป่าเทือกเขาสลอบ จังหวัดกาญจนบุรี มีธรรมชาติที่สวยงามเป็นพิเศษ และมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ แต่เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวอยู่ในเขตหวงห้ามที่ดินตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดิน ในท้องที่อำเภอเมือง อำเภอวังขนาย อำเภอบ้านทวน และอำเภอวังกะ จังหวัดกาญจนบุรี โดยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและกระทรวงมหาดไทย มีหน้าที่รักษาการณ์ให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว กรมป่าไม้จึงมีรายงานให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แจ้งให้กระทรวงกลาโหมและกระทรวงมหาดไทย ขอเพิกถอนพื้นที่เขตหวงห้ามที่ดินบางส่วนที่เป็นป่าเทือกเขาสลอบ เพื่อเป็นพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ซึ่งคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติได้มีมติเห็นชอบให้ดำเนินการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติได้ โดยมีพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนที่ดินหวงห้ามดังกล่าวลงประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที 19 มิถุนายน 2518 และได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าเขาสลอบ ในท้องที่ตำบลไทรโยค ตำบลท่าเสา ตำบลลุ่มสุ่ม อำเภอไทรโยค ตำบลหนองเป็ด ตำบลท่ากระดาน อำเภอศรีสวัสดิ์ และตำบลช่องสะเดา อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2518 และให้ใช้ชื่อว่า "อุทยานแห่งชาติเอราวัณ" ตามความนิยมและคุ้นเคยของประชาชนที่รู้จักน้ำตกเอราวัณเป็นอย่างดี โดยมีเนื้อที่ประมาณ 549.9 ตารางกิโลเมตร หรือ 343,735 ไร่ นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 12 ของประเทศ


ลักษณะภูมิประเทศ

                     อุทยานแห่งชาติเอราวัณ มีลักษณะพื้นที่เป็นภูเขาสูงชันอยู่สูงจากระดับน้ำทะเล ตั้งแต่ 165-996 เมตร สลับกับพื้นที่ราบ โดยภูเขาส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาหินปูน ในแถบตะวันออกและตะวันตกของพื้นที่จะยกตัวสูงขึ้นเป็นแนวโดยเฉพาะบริเวณใกล้น้ำตกเอราวัณจะมีลักษณะเป็นหน้าผา ส่วนบริเวณตอนกลางจะเป็นแนวเขาทอดยาวในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยเทือกเขาที่สำคัญคือ เขาหนองพุก เขาปลายดินสอ เขาหมอเฒ่า เขาช่องปูน เขาพุรางริน และเขาเกราะแกระซึ่งเป็นยอดเขาสูงสุดประมาณ 996 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง เทือกเขาเหล่านี้เป็นต้นกำเนิดของลำห้วยที่สำคัญหลายสาย สามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ในพื้นที่ด้านตะวันออกนี้จะมีลำห้วยที่สำคัญคือ ห้วยม่องไล่ และห้วยอมตะลา ซึ่งไหลมาบรรจบกันกลายมาเป็นน้ำตกเอราวัณ ทางตอนเหนือของพื้นที่มีห้วยสะแดะและห้วยหนองกบ โดยห้วยสะแดะจะระบายน้ำลงสู่เขื่อนศรีนครินทร์ ส่วนห้วยหนองกบไหลไปรวมกับห้วยไทรโยคก่อให้เกิดน้ำตกไทรโยค ส่วนในพื้นที่ด้านตะวันตก และด้านใต้ ได้แก่ ห้วยทับศิลา ห้วยเขาพังซึ่งเป็นต้นกำเนิดน้ำตกที่สวยงามที่เรียกว่า “น้ำตกเขาพัง” หรือน้ำตกไทรโยคน้อย



ลักษณะภูมิอากาศ

                  สภาพภูมิอากาศของอุทยานแห่งชาติเอราวัณแบ่งออกเป็น 3 ฤดู คือ ฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-มกราคม และฤดูร้อน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน อุทยานแห่งชาติเอราวัณได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และตะวันออกเฉียงเหนือช่วยพัดพาให้เกิดฝน แต่เนื่องจากพื้นที่อยู่ในเขตเงาฝน ทำให้มีปริมาณฝนตกไม่มากนัก และอากาศค่อนข้างร้อน ลักษณะอากาศดังกล่าวจึงไม่เป็นปัญหาต่อการเที่ยวชม ทำให้สามารถไปเที่ยวได้ทุกฤดู

พืชพรรณและสัตว์ป่า

                สภาพป่าของอุทยานแห่งชาติเอราวัณ ประกอบด้วยป่าเบญจพรรณ มีร้อยละ 81.05 ของพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ขึ้นปกคลุมตั้งแต่ระดับความสูง 100 - 800 เมตร จากระดับน้ำทะเล พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ มะค่าโมง ตะเคียนหนู รกฟ้า ผ่าเสี้ยน ประดู่ ส้มเสี้ยว แต้ว มะกอก ตะแบก ขานาง มะเกลือ หว้า ฯลฯ มีไผ่ชนิดต่างๆ ขึ้นกระจายอยู่ทั่วไปหรือบางแห่งขึ้นเป็นกลุ่ม ได้แก่ ไผ่ป่า ไผ่รวก ไผ่ซางนวล และไผ่หอบ นอกจากนี้ยังมีพวกไม้เลื้อยและพืชพื้นล่าง ได้แก่ เสี้ยวเครือ นมแมว เล็บเหยี่ยว หนามคนทา ช้องแมว มะเม่าไข่ปลา ย่านลิเภา เปล้าหลวง กระทือ สังกรณี และเอื้องหมายนา เป็นต้น ป่าเต็งรัง มีร้อยละ 1.68 กระจายอยู่ในระดับความสูง 100 - 800 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง บริเวณทุ่งยายหอม หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ อว.8 (ลำต้น) และบริเวณใกล้เขื่อนทุ่งนา พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ เต็ง รัง แดง ก่อแพะ มะขามป้อม อ้อยช้าง ยอป่า กรวยป่า โมกหลวง ก้างขี้มอด ส้าน เหมือดคน ฯลฯ พืชพื้นล่างได้แก่ หญ้าขน หญ้าหางเสือ เล็บแมว เถาว์กระทงลาย เป้ง ลูกใต้ใบ ผักหวาน ผักเป็ด พลับพลา และปอ เป็นต้น ป่าดิบแล้ง มีร้อยละ 14.35 อยู่บนสันเขาทอดเป็นแนวยาวตรงใจกลางของพื้นที่อุทยานแห่งชาติ และอยู่ต่ำถัดลงมาในระดับความสูงระหว่าง 600-800 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง และอยู่ในบริเวณที่ชุ่มชื้นตามที่ราบริมห้วย พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ยางโอน มะพลับดง ยมหิน ตะเคียนทอง สำโรง ตะคร้ำ สัตบรรณ เฉียงพร้านางแอ มะดูก พลองใบเล็ก ข่อยหนาม ชมพู่น้ำ ฯลฯ พืชพื้นล่างได้แก่ หวายขม เถากระไดลิง เข็มขาว มะลิไส้ไก่ ว่านเศรษฐี ตำแยกวาง เถาอบเชย ไผ่หนาม และเนียมฤาษีจากการสำรวจแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ได้แก่ สัตว์ป่าเลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก นก และสัตว์น้ำอื่นๆ รวมทั้งปลานานาชนิด ที่สำคัญและมักจะพบเห็น ได้แก่ ช้างป่า หมีควาย เลียงผา อีเก้ง กวางป่า หมูป่า ชะนีธรรมดา ค่างแว่นถิ่นเหนือ ลิงกัง ลิงลม แมวดาว อีเห็นธรรมดา กระแต เหยี่ยวกิ้งก่าสีดำ ไก่ฟ้าหลังเทา ไก่ป่า นกกวัก นกเด้าดิน นกเขาใหญ่ นกกระปูดใหญ่ นกตะขาบทุ่ง นกหัวขวานด่างแคระ นกปรอดสวน นกจาบดินอกลาย งูจงอาง งูสามเหลี่ยม งูหลาม งูเห่าตะลาน กิ้งก่าหัวสีฟ้า จิ้งเหลนบ้าน ตะพาบน้ำ คางคกบ้าน เขียดจะนา อึ่งกราย กบป่าไผ่ใหญ่ ปาดบิน ปลากั้ง ปลาเวียน ปลาหมอช้างเหยียบ ปลาตะเพียนขาว ปลากระสูบจุด ปูน้ำตก ปูตะนาวศรี ปูกาญจนบุรี เป็นต้น

วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร





พระพุทธไสยาส พระองค์นี้ พระบาทสมเด็จฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.๓ ทรงสร้าง ขึ้นครั้งทรงปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๕ คือการปฏิสังขรณ์ครั้งนั้น ได้โปรดฯ ให้ขยายเขตพระอารามออกไปทางทิศเหนือ แล้วโปรดฯ ให้สร้างพระพุทธ ไสยาสขึ้นในที่ซึ่งได้ขยายออกไปใหม่นั้น เป็นพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูน ด้านพระพักตร์สูง ๑๕ เมตร มีความยาวตลอดทั้งองค์ถึง ๔๖ เมตร พื้นพระบาทประดับด้วยมุกไฟเป็นภาพมงคล ๑๐๘ พระพุทธไสยาสองค์นี้ได้รับการขนานนามว่า เป็นพระพุทธไสยาสองค์ใหญ่ ที่มีความงดงามที่สุดในประเทศไทย




ที่ผนังพระวิหารหลังนี้มีภาพเขียนสีและจารึกเรื่อง มหาวงศ์ (พงศาวดารลังกาทวีป) อยู่ด้านบนเหนือหน้าต่างขึ้นไป ระหว่างช่องหน้าต่างเขียนเรื่อง พระสาวิกาเอตทัคคะ (ภิกษุณี) ๑๓ องค์ อุบาสกเอตทัคคะ ๑๐ ท่าน อุบาสิกาเอตทัคคะ ๑๐ ท่าน





วัดโพธิ์ ตั้งอยู่ริมถนนสนามไชยและถนนมหาราช ติดกับพระบรมมหาราชวัง เปิดให้เข้าชมทุกวัน ระหว่างเวลา ๐๘.๐๐ -๑๗.๐๐ น. ชาวต่างชาติจะต้องซื้อบัตรเข้าชมคนละ ๕๐ บาท สำหรับนักท่องเที่ยวต้องแต่งกายสุภาพ สุภาพสตรีห้ามสวมกางเกงขาสั้นเหนือเข่าเข้าไปเที่ยวชม





การเดินทางมีรถประจำทางผ่าน
๑. รถประจำทางธรรมดา สาย ๑ - ๓ - ๖ - ๙ - ๑๒ - ๒๕ - ๓๒ - ๔๓ - ๔๔ - ๔๗ - ๔๘ - ๕๑ - ๕๓ - ๘๒ - ๑๐๓

๒. รถประจำทางปรับอากาศ ปอ.๑ – ปอ.๖ – ปอ.๗ – ปอ.๘ – ปอ.๑๒ - ปอ.๔๔
๓. เดินทางโดยเรือด่วนเจ้าพระยา สามารถขึ้นฝั่งที่ท่าเรือท่าช้าง, ท่าเรือท่าเตียน, ท่าเรือปากคลองตลาด แล้วเดินเข้าประตูทางถนนท้ายวังได้



แผนที่เดินทางมาวัดโพธิ์

*ผู้ที่นำรถส่วนตัวมาสามารถนำมาจอดไว้ถนนเชตุพน โดยเสียค่าบริการ


(วันหยุดเสาร์-อาทิตย์ สถานที่จอดรถอาจไม่เพียงพอ)



*ส่วนรถบัสหรือรถทัวร์ขนาดใหญ่ที่นำนักท่อเที่ยวมา ไม่สามารถนำมาจอดที่ถนนเชตุพนได้

แต่สามารถนำรถไปจอดที่สนามหลวง ไม่เสียค่าบริการ

(กรณีพิเศษจะจอดริมถนนรอบวัด จะต้องติดต่อขออนุญาตทาง สน.ราชวัง โทร. 223-2845-7)

จังหวัดภูเก็ต

เกาะภูเก็ต



                   เกาะภูเก็ต เป็นเกาะขนาดใหญ่ที่สุดเมืองไทย มีพื้นที่ประมาณ 543 ตารางกิโลเมตร อยู่ห่างจากรุงเทพฯราว 862 กิโลเมตร ภูเก็ตได้ชื่อว่าเป็นมุกเม็ดงามแห่งท้องทะเลไทย เป็นมุกเม็ดงามแห่งท้องทะเลไทย เป็นศุนย์กลางการเดินทางสู่หมู่เกาะต่าง ๆ ในท้องทะเลอันดามันและยังเป็นเกาะที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน เนื่องจากเคยเป็นเกาะที่ม่แร่ดีบุกอุดมสมบูรณ์ มีการทำเหมืองแร่และเป็นเมืองท่าค้าขายที่สำคัญกับเมืองท่าอื่น ๆ ในแหลมมาลายุ เช่นปีนัง และสิงคโปร์ จนมีการตั้งถิ่นฐานปรากฏอาคารบ้านเรือนและตึกรามเก่าแก่ศิลปะแบบจีนผสมยุโรป เกิดเป็นแบบเฉพาะที่เรียกว่า ชิโน-โปรตุกีส ซึ่งยังคงมีให้เห็นทั่วไปในตัวเมืองภูเก็ต เกาะภูเก็ตกลายเป็นเมืองตากอากาศที่สำคัญของเมืองไทยและของโลก ด้วยมีหาดทรายสวยงามมากมายโดยฝั่งตะวันตกของเกาะ นับตั้งแต่หาดไม้ขาว หาดในยาง หาดบางเทา หาดสุรินทร์ หาดกมลา หาดป่าตอง หาดกะรน หาดกะตะ หาดในหาน นอกจากนี้ยังมีเกาะน้อยใหญ่รอบข้างที่สามารถเดินทางไปเที่ยวภายในวันเดียวได้อีกหลายเกาะ เช่น เกาะในอ่าวพังงา เกาะนาคาใหญ่ เกาะนาคาน้อย ตลอดจนแหล่งท่องเที่ยวอีกมากมายในตัวเมือง

ปิ่นโต

395 ปี บันทึกของปิ่นโต


               ปิ่นโตเป็นชาวเมืองมองเอมูร์เก่า ในราชอาณาจักรโปรตุเกส ปินโตเกิดในครอบครัวที่ยากจน ในค.ศ. 1523 ชีวิตของเขาตกอยู่ในอันตรายจนต้องหลบหนีลงเรือจากเมืองกูแอ ดึ แปดรา ขณะนั้นเขามีอายุได้ 28 ปี และเขาก็เดินทางกลับมายังมาตุภูมิ เมื่อวันที่ 22 กันยายนค.ศ. 1558 รวมเป็นเวลา 21 ปีของการแสวงหาโชคในเอเชีย

               ปิ่นโตเคยเผชิญปัญหาเรืออับบปาง 5 ครั้ง ถูกขาย 16 ครั้งและถูกจับเป็นทาสถึง 13 ครั้ง ชีวิตในเอเชียของปินโตเคยผ่านการเป็นกลาสีเรือ ทหาร พ่อค้า ทูตและนักสอนศาสนา เขาจึงพยายามติดต่อขอรับพระราชทานบำเหน็จรางวัลเนื่องากได้ปฏิบัติหน้าที่เพื่อชาติและศาสนาอย่างเต็มที่ แต่กลับไม่ได้รับความสนใจปินโตจึงได้เขียนหนังสือชื่อ "Peregrinacao" ขึ้น และถูกตีพิมพ์ หลังจากเขาถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 1583

              ปิ่นโตเคยเดินทางเข้าสยาม 2 ครั้ง ครั้งแรกเข้ามาในปัตตานีและนครศรีธรรมราช ก่อนค.ศ.1548 ครั้งที่ 2 เข้ามายังกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช และหลังจากปินโตถึงแก่กรรม บุตรีของเขาได้มอบต้นฉบับหนังสือเรื่อง “Pérégrinação” ให้แก่นักบวชสำนักหนึ่งแห่งกรุงลิสบอน

             งานเขียนของปินโตตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ.1614 และแปลเป็นภาษาต่างๆ อาทิ ภาษาฝรั่งเศส (1628) ภาษาอังกฤษ (1653) ใน ค.ศ.1983 กรมศิลปากรได้เผยแพร่บันทึกของปินโตบางส่วนในชื่อ “การท่องเที่ยวผจญภัยของแฟร์นังด์ มังเดซ ปินโต"

             งานเขียนของปินโตถูกนำเสนอในรูปของร้อยแก้ว บางตอนก็ระบุว่าเรื่องที่ได้ยินได้ฟังมาจากคำบอกเล่าและการสอบถามผู้รู้ บางตอนก็ระบุว่าเป็นผู้มีประสบการณ์ด้วยตัวเอง ปินโตระบุว่า การเล่าเรื่องการเดินทางของเขามีจุดมุ่งหมายเพื่อให้มีการเรียนรู้สภาพภูมิศาสตร์ของโลกให้มากยิ่งขึ้น มิได้มีจุดประสงค์ที่จะก่อให้เกิดความท้อถอยในการติดต่อกับดินแดนแถบเอเชีย

              ส่วนเฮนรี โคแกนระบุว่า จุดมุ่งหมายในการแปลหนังสือ“Pérégrinação” จากภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาอังกฤษ คือ ต้องการให้ผู้อ่านทั่วไปเกิดความพึงพอใจและกระตุ้นให้มีการสำรวจและค้นคว้าทางภูมิศาสตร์ เพื่อเป็นบทเรียนให้สามารถหลีกเลี่ยงปัญหาเรืออับปาง เพื่อทัศนศึกษาดินแดนต่างๆในโลกกว้างและเพื่อเรียนรู้เรื่องราวของ“คนป่าเถื่อน” จุดมุ่งหมายที่จริงจังของทั้งปินโตและโคแกนสะท้อนให้เห็นคุณค่าของเหตุการณ์สถานที่่่่่ อารมณ์ความรู้สึกและวัฒนธรรมอันหลากหลายของผู้คนที่ปรากฏในหนังสือ “Pérégrinação” อย่างไม่อาจมองข้ามได้





คุณค่าทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับราชอาณาจักรสยาม

             บันทึกของปินโตนับเป็นเอกสารสำคัญที่กล่าวถึงเรื่องราวส่วนหนึ่งเกี่ยวกับทรัพยากร การทหาร วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ กฎหมายและเรื่องราวในราชสำนักสยามกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 และมักจะถูกอ้างอิงเสมอเมื่อกล่าวถึงบทบาททางการทหารของชุมชนโปรตุเกสในรัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช ปินโต กล่าวว่า

“ชาวต่างประเทศทุกๆชาติที่ไปร่วมรบกับกษัตริย์สยามนั้นต่างก็

ได้รับคำมั่นสัญญาว่าจะได้รับบำเหน็จรางวัล การยกย่อง ผลประโยชน์

ความชื่นชมและเกียรติยศชื่อเสียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะได้รับอนุญาต

ให้สร้างโบสถ์เพื่อการปฏิบัติศาสนกิจในแผ่นดินสยามได้....”

ความน่าเชื่อถือ

               หนังสือของปินโตถูกตีพิมพ์เผยแพร่อย่างกว้างขวางในยุโรป จึงเป็นเหตุให้เขาถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง ในงานเขียน ระบุว่า"การผจญภัยของปินโตมีลักษณะคล้ายกับเรื่องราวในนิยายอาหรับและตั้งฉายาเขาว่า “ซินแบดแห่งโปรตุเกส"

                นักประวัติศาสตร์ไทยหลายคนเลือกใช้ข้อมูลของปินโตมาอ้างอิงโดยตลอด อาทิ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา มานพ ถาวรวัฒน์สกุลในเรื่องขุนนางอยุธยา

หลักฐานของปินโตกับปัญหาในการศึกษาชุมชนโปรตุเกสสมัยอยุธยา

               หากนักเรียนประวัติศาสตร์คนใดจะนำงานเขียนของปินโตมาใช้ในการตรวจสอบเรื่องราวเกี่ยวกับตำแหน่งหัวหน้าค่ายโปรตุเกส ความสัมพันธ์ของคนภายในค่าย ก็อาจจะต้องใช้ความพยายามในการศึกษาและวิเคราะห์หลักฐานชิ้นนี้มากพอสมควร การที่ปินโตเคยเป็นทูตของข้าหลวงโปรตุเกสแห่งมะละกาไปยังรัฐต่างๆในภูมิภาคแถบนี้ อีกทั้งยังเคยเป็นทหารและนักสอนศาสนาของโปรตุเกสด้วย เขาจึงน่าจะเป็นบุคคลที่มีเกียรติพอที่จะได้รับความเชื่อถือจากผู้มีฐานะเป็นศัตรูชาติโปรตุเกสในยุโรปหรือแม้แต่ชาวโปรตุเกสบางคน แต่เขาก็ไม่เคยถูกนักประวัติศาสตร์โปรตุเกส อาทิ ดูอาร์ตึ บาร์บูซา จูอาว ดึ บารอส และคาสปาร์ คอร์รีอาเสีย